ครูโอชินจะนำความรู้ที่จะพาน้องๆ เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8 เทคนิค สุดเจ๋งที่ได้อ่านหนังสือ “คู่มือครู” ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของระดับประถมศึกษา
วันนี้จะมาแชร์วิธี เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8 เทคนิค ที่น่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆและผู้ปกครอง สำหรับการเตรียมตัวน้องๆสอบเข้าม.1 โรงเรียนสาธิตปทุมวันและโรงเรียนสาธิตประสานมิตร
8 หลักการที่น้องๆสามารถเลือกใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาตร์ได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น
1. การวาดภาพ (Draw a Picture) – เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8 เทคนิค
โต้งมีเงินอยู่จำนวนนึง วันเสาร์ใช้ไป 300 บาท วันอาทิตย์ใช้ไป 2 ส่วน 5 ของเงินที่เหลือ ทำให้เงินที่เหลือคิดเป็นครึ่งนึงของเงินที่มีอยู่เดิมจงหาว่าโต้งมีเงินอยู่กี่บาท
จากรูปเราจะเห็นว่าแบ่งสี่เหลี่ยมออกเป็นทั้งหมด 6 ช่อง
โดย 1 ช่องเท่ากับ 300 บาท
เดิมโต้งจะมีเงิน 6 ช่อง คิดเป็น 1,800 บาท
2. การหาแบบรูป (Find a Pattern) – เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8 เทคนิคนี้
3. การคิดย้อนกลับ (Work Backward) – เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8 เทคนิค
ข้อนี้น้องๆสามารถใช้การวาดภาพเข้ามาช่วยในการคิด เพื่อให้เห็นภาพได้มากขึ้นและเป็นการคิดย้อนกลับในการเปลี่ยนเครื่องหมายจากบวกไปเป็นลบ หรือจากลบ กลายเป็นบวก สุดท้ายคำตอบที่ได้เดิมเพชรมีเงิน 142 บาท
4. การเดาและตรวจสอบ (Guess and Check) – เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8 เทคนิค
การเดาและการตรวจสอบ เป็นการอาศัย ความน่าจะเป็นไปได้แล้วสุ่มหรือสมมุติ คำตอบขึ้นมา โดยเอาไปแทน ในโจทย์ ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมเหตุสมผลหรือไม่ ซึ่งคำตอบที่ได้ถ้า โจทย์คณิตศาสตร์มี Choice ให้เลือก 1 2 3 4 เราอาจจะเอาคำตอบในแต่ละช้อยไปแทนค่าเพื่อดูว่า ควรจะตอบ Choice ไหน
แต่ถ้าข้อสอบไม่มี Choice เป็นอัตนัยเราต้องสมมติตัวเลขขึ้นมาเอง แบบนี้ต้องอาศัยโชคชะตาฟ้าลิขิตแทนค่าปุ๊บแล้วได้ปั๊บ ด้วยนะคะ
ในบางครั้งเราสามารถลักไก่ใช้วิธีนี้ในการคิดโจทย์เลขได้เช่นเดียวกัน แต่บางทีค่อนข้าง ใช้เวลานานหรือแทนหลายตัวเลขไม่ได้คำตอบสักที จึงต้องใช้ วิธีอื่นมาช่วยในการหาคำตอบแทน ข้อนี้เราอาจจะใช้สมการเข้ามาช่วยในการหาคำตอบ
โดยแทน เป็นค่า x และ x + 36
และเขียนเป็นสมการ 2x + 36 เท่ากับ 136
จากนั้นเราจะหาค่า x ได้เท่ากับ 50
###ตัวเลข 2 ตัวเลยเท่ากับ 50 และ 86###
5. การทำให้ปัญหาง่าย (Simplify the problem)
เพื่อหาพื้นที่ที่เหลือในรูปนี้(พื้นที่สีเขียว)
พื้นที่สี่เหลี่ยมใหญ่ – (พื้นที่ A + B + C + D) = พื้นที่ที่แรเงา
6. การแจกแจงรายการ ( Make a List)
เช่น นักเรียนกลุ่มหนึ่งต้องการซื้อไม้บรรทัดอันละ 8 บาทดินสอแท่งละ 4 บาทเป็นเงิน 100 บาท ถ้าต้องการไม้บรรทัดอย่างน้อย 5 อัน และดินสอ อย่างน้อย 4 อันจะซื้อไม้บรรทัดและดินสอได้กี่วิธี
ในตารางจะเป็นการแจกแจงรายการเช่น ถ้าเราซื้อไม้บรรทัด 5 อันราคา 40 บาทจะเหลือเงิน 60 บาทเลยสามารถซื้อดินสอได้ 15 แท่ง
7. การตัดออก (Eliminate)
จากตารางจะเห็นว่าเราสามารถตัดที่หารด้วย 5 ลงตัวก่อนได้
8. การเปลี่ยนมุมมอง (Chang of view)
จากรูปจะเห็นว่าเราสามารถพลิกครึ่งวงกลมในแถบด้านล่าง เปลี่ยนมาประกบ กลับแถบด้านบนอีกฝั่งหนึ่งทำให้เรา เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นโดยหาเพียงแค่ พื้นที่วงกลมกลาง – พื้นที่วงกลมเล็ก