เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8 เทคนิค

เทคนิคทำข้อสอบคณิต


ครูโอชินจะนำความรู้ที่จะพาน้องๆ เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8 เทคนิค สุดเจ๋งที่ได้อ่านหนังสือ “คู่มือครู” ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของระดับประถมศึกษ
า 

วันนี้จะมาแชร์วิธี เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8 เทคนิค ที่น่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆและผู้ปกครอง สำหรับการเตรียมตัวน้องๆสอบเข้าม.1 โรงเรียนสาธิตปทุมวันและโรงเรียนสาธิตประสานมิตร 

8 หลักการที่น้องๆสามารถเลือกใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาตร์ได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น 

1.  การวาดภาพ (Draw a Picture) – เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8 เทคนิค

การวาดภาพเป็นการจินตนาการ โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ให้ออกมาเป็นรูปภาพเพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้นมองเห็นภาพชัดเจน และเห็นแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งเรื่องนี้ส่วนใหญ่นำมาใช้กับเรื่องเศษส่วนเป็นหลัก เช่น เช่นมีเงินอยู่ 100 บาทใช้ไป 3 ใน 5 เราเลยต้องวาด เป็นสี่เหลี่ยมทั้งหมด 5 ช่อง เพื่อแบ่งส่วนที่ใช้ไปและส่วนที่เหลืออยู่
 
ตัวอย่าง
โต้งมีเงินอยู่จำนวนนึง วันเสาร์ใช้ไป 300 บาท  วันอาทิตย์ใช้ไป 2 ส่วน 5 ของเงินที่เหลือ  ทำให้เงินที่เหลือคิดเป็นครึ่งนึงของเงินที่มีอยู่เดิมจงหาว่าโต้งมีเงินอยู่กี่บาท

 

เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8 เทคนิค
 

จากรูปเราจะเห็นว่าแบ่งสี่เหลี่ยมออกเป็นทั้งหมด 6 ช่อง
โดย 1 ช่องเท่ากับ 300 บาท
เดิมโต้งจะมีเงิน 6 ช่อง คิดเป็น 1,800 บาท

2. การหาแบบรูป (Find a Pattern) – เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8 เทคนิคนี้

การหาแบบรูปเป็นการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาโดยเราจะต้องหาความสัมพันธ์ความเชื่อมโยงของข้อมูลที่โจทย์ให้มาเพื่อสรุปเป็นรูปแบบหรือ pattern ของโจทย์เพื่อนำชุดความคิดนี้ไปใช้กับสิ่งที่โจทย์ถาม บางทีโจทย์ไม่ได้ให้ ความสัมพันธ์มาตั้งแต่แรก เราก็ต้องจำลองสร้างรูปแบบ เพื่อหาความสัมพันธ์ของโจทย์เอง  เรื่องนี้ใช้ได้บ่อยในเรื่องของจำนวนและพีชคณิต
 
เช่น  ในงานเลี้ยงแห่งหนึ่ง เจ้าภาพจัดโต๊ะและเก้าอี้ดังรูปถ้าจัดโต๊ะและเก้าอี้ตามรูปนี้จนครบ 10 ตัว  จะต้องใช้เก้าอี้ทั้งหมดกี่ตัว
 
 
เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8 เทคนิค
 
สังเกตว่าโจทย์ข้อนี้เราจะต้อง pattern ของโจทย์ โดยสามารถแบ่ง โต๊ะออกเป็น 2 แบบคือ  1. โต๊ะมุม  (โต๊ะซ้ายและขวาจะมี 3 เก้าอี้)
2. โต๊ะใน ( มีเก้าอี้ 2 ตัว)
 
เวลาเราคำนวณเราก็สามารถแยก 2 ประเภทนี้ได้
โต๊ะมุม 2 ตัว = 6 เก้าอี้ ,  โต๊ะใน  8 ตัว = 16 เก้าอี้
 
รวม 22 เก้าอี้

3. การคิดย้อนกลับ (Work Backward) – เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8 เทคนิค

การคิดย้อนกลับเป็นการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาที่ทราบผลลัพธ์แต่ไม่ทราบข้อมูลในขั้นตอนเริ่มต้น ซึ่งเราจะต้องนำตัวเลขที่เป็นผลลัพธ์มาหาคำตอบในค่าเริ่มต้น
 
เช่น   เพชรมีเงินอยู่จำนวนหนึ่งให้น้องชายไป 35 ให้น้องสาวไป 15 ได้รับเงินจากแม่อีก 20 บาท  ทำให้ขณะมีเพชรมีเงิน 112 บาทเดิมเพชรมีเงินกี่บาท
 
 
เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8

ข้อนี้น้องๆสามารถใช้การวาดภาพเข้ามาช่วยในการคิด เพื่อให้เห็นภาพได้มากขึ้นและเป็นการคิดย้อนกลับในการเปลี่ยนเครื่องหมายจากบวกไปเป็นลบ หรือจากลบ กลายเป็นบวก สุดท้ายคำตอบที่ได้เดิมเพชรมีเงิน 142 บาท

4. การเดาและตรวจสอบ (Guess and Check) – เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8 เทคนิค

การเดาและการตรวจสอบ เป็นการอาศัย ความน่าจะเป็นไปได้แล้วสุ่มหรือสมมุติ คำตอบขึ้นมา โดยเอาไปแทน ในโจทย์ ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมเหตุสมผลหรือไม่ ซึ่งคำตอบที่ได้ถ้า โจทย์คณิตศาสตร์มี Choice ให้เลือก 1 2 3 4 เราอาจจะเอาคำตอบในแต่ละช้อยไปแทนค่าเพื่อดูว่า ควรจะตอบ Choice ไหน

แต่ถ้าข้อสอบไม่มี Choice เป็นอัตนัยเราต้องสมมติตัวเลขขึ้นมาเอง แบบนี้ต้องอาศัยโชคชะตาฟ้าลิขิตแทนค่าปุ๊บแล้วได้ปั๊บ ด้วยนะคะ

เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8


ในบางครั้งเราสามารถลักไก่ใช้วิธีนี้ในการคิดโจทย์เลขได้เช่นเดียวกัน แต่บางทีค่อนข้าง ใช้เวลานานหรือแทนหลายตัวเลขไม่ได้คำตอบสักที จึงต้องใช้ วิธีอื่นมาช่วยในการหาคำตอบแทน ข้อนี้เราอาจจะใช้สมการเข้ามาช่วยในการหาคำตอบ
โดยแทน เป็นค่า x และ x + 36
และเขียนเป็นสมการ 2x + 36 เท่ากับ 136
จากนั้นเราจะหาค่า x ได้เท่ากับ 50
###ตัวเลข 2 ตัวเลยเท่ากับ 50 และ 86###

5. การทำให้ปัญหาง่าย (Simplify the problem) 

การทำให้ปัญหาง่ายเป็นการลดจำนวนที่เกี่ยวข้องกับโจทย์ปัญหาหรือแม้กระทั่งเปลี่ยนรูปแบบความคิด หรือคิดนอกกรอบนั่นเองนะจ๊ะ

 

เรื่องนี้ครูโอชินสอนเป็นเทคนิค”เฟอร์นิเจอร์ห้ครูโอชิน” หมายความว่าเราจะต้องมอง เป็น ห้องสี่เหลี่ยม – ด้วยเฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้น
เพื่อหาพื้นที่ที่เหลือในรูปนี้(พื้นที่สีเขียว)
 
โจทย์ข้อนี้จะเห็นว่าพื้นที่แรเงารูปสามเหลี่ยม เราไม่สามารถรู้ฐานหรือสูงได้เลย  เพราะโจทย์ไม่ได้กำหนดมา  ทำให้ยากต่อการคิดที่เป็นสูตรหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม 1/2 x ฐาน x สูง

 

เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8

พื้นที่สี่เหลี่ยมใหญ่
– (พื้นที่ A + B + C + D) = พื้นที่ที่แรเงา
 
พื้นที่สี่เหลี่ยมใหญ่ เท่ากับ 160 ตารางเซนติเมตร
พื้นที่ A = 80 ตารางเซนติเมตร
พื้นที่ B = 15 ตารางเซนติเมตร
พื้นที่ C = 18 ตารางเซนติเมตร
พื้นที่ D =  21 ตารางเซนติเมตร
พื้นที่แรเงา = 160-(80+15+18+21)  = 160-134
พื้นที่แรเงา =  26 ตารางเซนติเมตร##

6. การแจกแจงรายการ ( Make a List) 

การแจกแจงรายการเป็นการเขียน รายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากโจทย์ปัญหาโดยเราต้องคิดแบบมีระบบ สามารถวาดเป็นตารางช่วยในการแจกแจงและจัดระบบความคิด เพื่อนำไปสู่คำตอบ

เช่น นักเรียนกลุ่มหนึ่งต้องการซื้อไม้บรรทัดอันละ 8 บาทดินสอแท่งละ 4 บาทเป็นเงิน 100 บาท ถ้าต้องการไม้บรรทัดอย่างน้อย 5 อัน และดินสอ อย่างน้อย 4 อันจะซื้อไม้บรรทัดและดินสอได้กี่วิธี

 

เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8 เทคนิค

ในตารางจะเป็นการแจกแจงรายการเช่น ถ้าเราซื้อไม้บรรทัด 5 อันราคา 40 บาทจะเหลือเงิน 60 บาทเลยสามารถซื้อดินสอได้ 15 แท่ง
 
ในตารางจะเห็นว่า สามารถเป็นไปได้ตามเงื่อนไข ที่ต้องการไม้บรรทัดอย่างน้อย 5 อันและดินสออย่างน้อย 4 อัน ได้ทั้งหมด 6 วิธี

7.  การตัดออก (Eliminate) 

การตัดออกเป็นการ ตัดคำตอบ ที่ไม่สอดคล้องหรือไม่ตรงกับเงื่อนไขในสิ่งที่โจทย์ถาม เช่นจงหาจำนวนที่หารด้วย 5 และ 6 ได้ลงตัว

 

เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8

จากตารางจะเห็นว่าเราสามารถตัดที่หารด้วย 5 ลงตัวก่อนได้
step 1  ตัดเลขที่หารด้วย 5 ไม่ลงตัวออก ( เลขที่ไม่ได้ลงท้ายด้วย 0 กับ 5)
 
step 2  เอาตัวเลขที่ได้จาก step 1 มาพิจารณาต่อว่าเลขไหนที่หารด้วย 6 ลงตัวบ้าง
 
ตัวเลขที่ได้ก็เป็นคำตอบ

8. การเปลี่ยนมุมมอง (Chang of view) 

การเปลี่ยนมุมมองเป็นการแก้โจทย์ปัญหาที่มีความซับซ้อน เราจึงต้องเปลี่ยนวิธีคิดเปลี่ยนแนวทางการแก้ปัญหาให้แตกต่างไปจากเดิม ส่วนใหญ่เทคนิคนี้จะเป็นการ ใช้ในเรื่องของเรขาคณิต โดยการ”ตัด ต่อ เติม ” ที่ครูโอชินสอนเทคนิคนี้ ใน intensive 3

 

เก็บคะแนนเลขง่ายๆด้วย 8


จากรูปจะเห็นว่าเราสามารถพลิกครึ่งวงกลมในแถบด้านล่าง เปลี่ยนมาประกบ กลับแถบด้านบนอีกฝั่งหนึ่งทำให้เรา เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นโดยหาเพียงแค่ พื้นที่วงกลมกลาง – พื้นที่วงกลมเล็ก