เจาะลึกแนวข้อสอบ Trilingual Plus+ M1

4 วิชาที่ใช้สอบ 8 ตัวอย่างข้อสอบเก่า

4 วิชาที่ใช้สอบ

1. ภาษาอังกฤษ
2. วิทย์-คณิต(ฉบับภาษาไทย)
3. วิทย์-คณิต(ฉบับภาษาอังกฤษ)
4. History

70%

คะแนนสอบ

15%

แฟ้มสะสมผลงาน

15%

คลิปวีดีโอแนะนำตัว


1. ข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ มีทั้งหมด 60 ข้อให้เวลาทำ 60 นาที

2. ข้อสอบวิชาวิทย์ – คณิตฉบับภาษาไทย มีทั้งหมด 50 ข้อ
(วิทย์ 25 คณิต 25 ) ให้เวลาทำ 70 นาที
3. ข้อสอบวิชาวิทย์ – คณิตฉบับภาษาอังกฤษ มีทั้งหมด 50 ข้อ
(วิทย์ 25 คณิต 25 ) ให้เวลาทำ 30 นาที
4. ข้อสอบ history มีทั้งหมด 30 ข้อ ให้เวลาทำ 20 นาที

ข้อมูลด้านบนเป็นข้อมูลของปี แรก ของหลักสูตร Trilingual Plus
**อ่านข้อมูลการสอบปัจจุบันได้ที่นี่

8 ตัวอย่างข้อสอบเก่า


– ภาษาอังกฤษ 2 ข้อ           
– วิทย์-คณิต(ไทย) 2 ข้อ   
– วิทย์-คณิต(ENG) 2 ข้อ   
– History 2 ข้อ

1. Sheila is a little girl, but she is very ____to join adventure activities.
1. hopeful
2. grumpy
3. coward
4. brave

Choose the correct answer.
2. Which one is incorrect?

1. The baby drank a little milk.
2. We had very little chicken left.
3. Hanna sang sweet, so very few like her.
4. She has little time, so she doesn’t go there.

3. กำหนดสัญลักษณ์ของธาตุ 11K, 33L, 19M, 20N และ 35O
มีธาตุหมู่ 1 และหมู่ 5 รวมทั้งหมดกี่ธาตุ
(3 คือ 11K, 33L, 19M  )

4. จากรูป กำหนดให้ เส้นตรง AB  // เส้นตรง CD ถ้า  มุม ECD = 62o และ มุม EAB  = 58o แล้ว มุมกลับ CEA มีขนาดกี่องศา

1. 120 องศา
2. 240 องศา
3. 242 องศา

4. 302 องศา

5. Which part of the body is the pulse rate often measured?
1. Forehead
2. Kneecap
3. Nose
4. Wrist

6. What is numbers of faces? (6)
What is numbers of vertices? (8)
What is numbers of edges? (12)

7. Which king declared independence from Myanma in the first war?
1. King Naresaun
2. King Narai
3. King Borommatrailokkanart
4. King Borammakot

8. Jatusadom was used in the reign of………
1. King Borommatrailokkanart
2. King Naresaun
3. King Narai
4. King Ramathibodi I

บทสรุป จะเห็นว่าตัวข้อสอบวิชาวิทย์คณิตฉบับภาษาอังกฤษจะไม่ยากเท่าวิชาวิทย์คณิตฉบับภาษาไทย เนื่องจากให้เวลาค่อนข้างน้อยในการทำข้อสอบ รวมถึงเป็นข้อสอบที่ไม่ต้องมีการคิดหลากหลายขั้นตอนและไม่ได้มีโจทย์ที่ซับซ้อน
.
ดูได้จากโจทย์วิทยาศาสตร์น้องๆสามารถเห็นปุ๊บตอบได้ปั๊บ เพียงแค่รู้คำศัพท์ วิทยาศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษ เช่น wrist (ข้อมือ) ดังตัวอย่างข้างบนที่ถามว่าอวัยวะส่วนใดที่นิยมใช้ในการวัดชีพจร
.
หรือแม้กระทั่งข้อสอบคณิตศาสตร์ ที่ต้องรู้ศัพท์คณิต เช่น faces (หน้าของรูปเรขาคณิต) น้องๆจะต้องนับ จำนวนหน้าของรูปเรขาคณิต สามมิติที่โจทย์ให้มา หรือต้องแปลศัพท์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ออก เช่น vertice , equivalent fraction , mean
.
ถ้าที่โรงเรียนน้องๆไม่เคยเรียนคณิตศาสตร์ฉบับภาษาอังกฤษ หรือ mathematics มาเลยก็จะค่อนข้างยาก เพราะน้องๆจะไม่ทราบหรือรู้คำศัพท์ ในวิชาวิทย์และคณิตเลย
.

วิชา history วิชานี้จะบอกว่าง่ายก็ได้จะบอกว่ายากก็ได้
เพราะถ้ารู้ก็สามารถตอบได้เลยภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ถ้าไม่รู้ก็ไม่สามารถตอบได้เช่นเดียวกัน
นอกจากน้องๆต้องจำประวัติศาสตร์ไทย
เริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ รวมถึงเหตุการณ์ที่สำคัญ บุคคลที่สำคัญ กษัตริย์ที่ปกครอง ประเพณี การทำสงคราม

เนื้อหาเยอะมาก นอกจากน้องๆจะแม่นเนื้อหาแล้ว พอเจอโจทย์ภาษาอังกฤษเข้าไป บอกเลยว่ามึน เพราะบางทีนอกจากเราต้องรู้ศัพท์เช่น hostage(ตัวประกัน) , declared independent(ประกาศอิสรภาพ)
ยังต้องอ่านชื่อกษัตริย์ เป็นภาษาอังกฤษให้ได้ King naresun , King Borommatrailokkanart ที่ใช้เหมือนภาษาคาราโอเกะ ถ้าน้องๆเจอครั้งแรก อาจจะใช้เวลาในการอ่านหรือเรียบเรียนสิ่งที่โจทย์ถามนานแน่นอน
—————–