ค่า T-Score ตอนสอบคืออะไร ?
การสอบเข้าม.1 ทั้งสาธิตปทุมวันและสาธิตประสานมิตร จะต้องรู้ก่อนว่า ค่า T-Score ตอนสอบคืออะไร ? เพราะว่าการคิดคะแนนจะแตกต่างจากการสอบเข้าม.1 โรงเรียนรัฐบาลอื่นๆ เพราะจะใช้คะแนนทางสถิติที่เรียกว่า T-Score ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ผ่านการทดสอบ โดย T-Score จะมีข้อดีในการปรับคะแนนทุกวิชาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน (เพราะแต่ละวิชา ความยาก-ง่ายไม่เท่ากัน)
ซึ่งการสอบน้องๆสามารถใช้คะแนนทางสถิติที่เรียกว่า T-Score เพื่อประเมินตนเองได้ก่อน เป็นการต่อสู้กับตัวเอง ไม่ต้องแข่งกับคนอื่นด้วยลำดับที่เลย
คะแนนมาตรฐานที่ (T-Score) หมายถึง คะแนนที่มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 50 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 10 และมีการแจกแจงคะแนนเป็นรูปโค้งปกติ ซึ่งเป็นคะแนนมาตรฐานที่แปลงมาจากคะแนนมาตรฐานซีเพื่อแก้จุดอ่อนบางประการของคะแนนมาตรฐานชี คะแนนมาตรฐานที่ (T-Score)คำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้
ตัวอย่าง
นักเรียน | คะแนนสอบ(X) | คะแนนมาตรฐานซี(Z) | คะแนนมาตรฐานที(T) |
1.กมล | 40 | 0.00 | 50+(10×0.00)=50 |
2.โสภา | 42 | 0.50 | 50+(10×0.50)=55 |
3.นิรมล | 44 | 1.00 | 50+(10×1.00)=60 |
4.ประชา | 48 | 2.00 | 50+(10×2.00)=70 |
5.นิเวศ | 37 | -0.75 | 50+(10×(-0.75))=42.5 |
6.ประจักษ์ | 33 | -1.75 | 50+(10×(-1.75))=32.5 |
การประเมินคะแนนมาตรฐานที(T-Score) อาจกำหนดระดับคุณภาพเป็น 5 ระดับดังนี้
ตั้งแต่ T 65 และสูงกว่า แปลว่า ดีมาก
ตั้งแต่ T 55 – 65 แปลว่า ดี
ตั้งแต่ T 45 – 55 แปลว่า พอใช้
เฉพาะ T 50 แปลว่า มีความสามารถปานกลางพอดี
ตั้งแต่ T 35 -45 แปลว่า ยังไม่พอใช้
ตั้งแต่ T 35 และต่ำกว่า แปลว่า อ่อน
จะสังเกตเห็นว่าการแบ่งระดับข้างต้นมีคะแนน T บางตัวซ้ำกันที่ตรงหัวและตรงท้ายของช่วงคะแนนเช่นที่ T 55 เป็นต้น การที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะตรง T 55 นั้นเป็นจุดแบ่งเขตระหว่างกลุ่ม ฉะนั้น ถ้านักเรียนคนใดได้คะแนน T ตรงจุดแบ่งเขตนั้นพอดี คือ ที่ T 35 , 45, 55 และ 65 ให้เลื่อนนักเรียนที่คาบเส้นผู้นั้นขึ้นไปอยู่ในกลุ่มสูงที่ถัดไปเสมอ เพื่อผลทางจิตวิทยาเพราะโอกาสที่นักเรียนคนเดียวกันจะได้คะแนนตรงนั้นช้ำ ๆ กันมีอยู่น้อยมาก
ค่า T-Score ตอนสอบคืออะไร ? – คุณลักษณะที่สำคัญ
คุณลักษณะที่สำคัญของคะแนนมาตรฐานที่ (T – Score) คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 10 มีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ ใช้เปรียบเทียบคะแนนจากข้อมูลต่างชุดกันได้ บวก ลบ คูณหารกันได้อย่างถูกหลักวิชา เพราะการแปลงคะแนนดิบของแต่ละวิชาให้เป็นคะแนนมาตรฐานที (T – Score)นั้นจะทำให้คะแนนต่าง ๆ เป็นมาตราเดียวกัน นอกจากนี้คะแนนมาตรฐานที (T – Score)ยังสามารถนำมาหาค่าเฉลี่ยได้อย่างมีความหมาย เช่น ด.ช.ประชา สอบวิชาณิตศาสตร์ได้ T 50 สอบวิชาวิทยาศาสตร์ได้ T 55สอบวิชาภาษาไทยได้ T 40 และสอบวิชาสังคมศึกษาได้ T 33 ดังนั้นคะแนนเฉลี่ยของ T – Score ทั้ง 4 วิชาเท่ากับ
หรือเท่ากับ T 45 ซึ่งอาจประเมินได้ว่า เขามีความสามารถในการเรียนระดับปานกลางหรือพอใช้แต่ค่อนข้างต่ำ จะเห็นได้ว่าคะแนนมาตรฐานที (T – Score) สามารถแปลความหมายได้ในตัวมันเอง เช่น ผู้ที่สอบได้คะแนนมาตรฐานที (T – Score) ใกล้ ๆ กับ 50 แสดงว่ามีความสามารถปานกลางแต่ถ้าได้คะแนนมาตรฐานที่ (T – Score) ต่ำกว่า 50 แสดงว่ามีความสามารถค่อนข้างต่ำลงไป เป็นต้น ถ้าอยากให้ทราบแน่ชัดลงไปอีกว่านักเรียนคนนั้นเด่นด้อยขนาดใดให้ไปอ่านบัญชีในตารางการแปลง T – Score เป็นจำนวนร้อยละที่อยู่เหนือกว่าผู้อื่นหรือแปลงเป็นเปอร์เซ็นต์ไทล์ (PR) นั่นเอง เช่น ด.ช.ประชา ได้ T 45 ซึ่งตรงกับเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 30.85 หรือ 31% หมายความว่าในนักเรียน 100 คนจะมีนักเรียนคนอื่น ๆ ที่มีคะแนนน้อยกว่า ด.ช.ประชา อยู่ 31 คน พร้อม ๆ กับมีอีก 69 คนที่มีคะแนนมากกว่าหรือเก่งกว่าเขา
ตารางค่าคะแนน T-Score
คะแนน T | % ที่เหนือผู้อื่น | คะแนน T | % ที่เหนือผู้อื่น | คะแนน T | % ที่เหนือผู้อื่น |
10 | 0.0032 | 37 | 9.68 | 64 | 91.92 |
11 | 0.0048 | 38 | 11.51 | 65 | 93.32 |
12 | 0.007 | 39 | 13.57 | 66 | 94.52 |
13 | 0.011 | 40 | 15.87 | 67 | 95.54 |
14 | 0.016 | 41 | 18.41 | 68 | 96.41 |
15 | 0.023 | 42 | 21.19 | 69 | 97.13 |
16 | 0.034 | 43 | 24.20 | 70 | 97.72 |
17 | 0.048 | 44 | 27.43 | 71 | 98.21 |
18 | 0.069 | 45 | 30.85 | 72 | 98.61 |
19 | 0.097 | 46 | 34.46 | 73 | 98.93 |
20 | 0.13 | 47 | 38.21 | 74 | 99.18 |
21 | 0.19 | 48 | 42.07 | 75 | 99.38 |
22 | 0.26 | 49 | 46.02 | 76 | 99.53 |
23 | 0.35 | 50 | 50.00 | 77 | 99.65 |
24 | 0.47 | 51 | 53.98 | 78 | 99.74 |
25 | 0.62 | 52 | 57.93 | 79 | 99.81 |
26 | 0.82 | 53 | 61.79 | 80 | 99.865 |
27 | 1.07 | 54 | 65.54 | 81 | 99.903 |
28 | 1.39 | 55 | 69.15 | 82 | 99.931 |
29 | 1.79 | 56 | 72.57 | 83 | 99.9582 |
30 | 2.28 | 57 | 75.80 | 84 | 99.966 |
31 | 2.87 | 58 | 78.81 | 85 | 99.977 |
32 | 3.59 | 59 | 81.59 | 86 | 99.984 |
33 | 4.46 | 60 | 84.13 | 87 | 99.989 |
34 | 5.48 | 61 | 86.43 | 88 | 99.9928 |
35 | 6.68 | 62 | 88.49 | 89 | 99.9952 |
36 | 8.08 | 63 | 90.32 | 90 | 99.9968 |
ดังนั้น การนำคะแนนมาบวกกันตรงๆ แล้วทำการ Ranking อันดับมันจึงดูไม่ค่อยแฟร์เท่าไหร่ T-Score จึงถูกนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในจุดนี้ ซึ่งเมื่อคิดคะแนนเป็น T-Score แล้ว ก็สามารถเทียบในแต่ละวิชาได้ทันทีว่าวิชาไหนทำคะแนนได้ดีกว่าวิชาไหน ซึ่งการคำนวณ T-Score นั้นจะขึ้นอยู่กับสองปัจจัยคือ ค่าเฉลี่ยของกลุ่มและการกระจายของคะแนน(ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร) มองในมุมค่าเฉลี่ย คือ ถ้าทำคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยมากๆ คะแนน T-Score ก็จะยิ่งสูงนั่นเอง
และคำถามสำคัญที่สุดคือ ต้องทำ T-Score ได้ถึงเท่าไหร่ ถึงจะสอบได้.. แนะนำถ้าน้องๆทำคะแนน T-Score ได้เกิน 70% โอกาสสอบติดจะถือว่า 100% เลยก็ว่าได้