ค่า T score ดูยังไง?

หากน้องคนไหนไปสอบพรีเทสของสาธิตประสานมิตร

– Trilingual Plus วันที่ 3 พฤศจิกายน 2567
– ปกติสอบเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2567

วันนี้จะพามาดู วิธีการวิเคราะห์คะแนนพรีเทส เพื่อช่วยให้น้องๆ และผู้ปกครองเข้าใจผลคะแนนมากขึ้น พร้อมทั้งเรียนรู้ว่า:

  • ดูคะแนนยังไง?
  • ค่า T  รวม หายังไง ?
  • ต้องได้คะแนนเท่าไหร่ ถึงจะมีโอกาสสอบติด?
  • เพิ่มค่า T ได้ยังไง?

จำนวนผู้เข้าสอบ: 1,514 คน

  • ป.4 จำนวน 102 คน
  • ป.5 จำนวน 477 คน
  • ป.6 จำนวน 935 คน

วันสอบ: 3 พฤศจิกายน 2567
วันประกาศผล: 7 พฤศจิกายน 2567

จำนวนผู้เข้าสอบ: 2,403 คน

    • ป.4 จำนวน 18 คน
    • ป.5 จำนวน 660 คน
    • ป.6 จำนวน 1,625 คน
  • วันสอบ: 1 ธันวาคม 2567
  • วันประกาศผล: 9 ธันวาคม 2567

จำนวนข้อสอบของทั้ง 2 หลักสูตร

  • วิชาคณิตศาสตร์: เต็ม 25 คะแนน (Tri+ ฉบับไทย 20 ข้อ + อังกฤษ 5 ข้อ)
  • วิชาภาษาไทย: เต็ม 60 คะแนน
  • วิชาวิทยาศาสตร์: เต็ม 50 คะแนน (Tri+ ฉบับไทย 40 ข้อ + อังกฤษ 10 ข้อ)
  • วิชาภาษาอังกฤษ: เต็ม 60 คะแนน 


เมื่อดูผลคะแนน พรีเทส ไม่ว่าจะเป็นของโปรแกรม Tri+ หรือภาคปกติ สิ่งสำคัญที่น้องๆและผู้ปกครองต้องดูคือ “ค่า T” หรือที่เรียกว่าคะแนนมาตรฐาน T-Score เพราะค่า T สามารถช่วยให้เราเปรียบเทียบคะแนนของตัวเองกับผู้เข้าสอบคนอื่นๆ ได้อย่างชัดเจน

ค่า T คืออะไร?

ค่า T หรือ T-Score เป็นคะแนนที่คำนวณจากผลสอบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับคะแนนให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ทำให้สามารถเปรียบเทียบผลคะแนนระหว่างผู้สอบทั้งหมดได้ ไม่ว่าจะมาจากกลุ่มไหน คะแนนค่า T จะช่วยให้เราทราบว่าเราอยู่ในระดับใดของผู้เข้าสอบทั้งหมด เช่น:

  • T = 50 หมายถึง คะแนนอยู่ที่ “ค่าเฉลี่ย” ของผู้สอบ
  • T > 50 หมายถึง คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ย
  • T < 50 หมายถึง คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

ทำไมค่า T ถึงสำคัญ?

การสอบที่มีการแข่งขันสูง เช่น พรีเทสของโรงเรียนสาธิต การวิเคราะห์คะแนนที่ดีจะใช้ค่า T เป็นตัวชี้วัดสำคัญ เพราะ:

  1. ค่า T ทำให้คะแนนของน้องๆ ถูกเปรียบเทียบกับผู้เข้าสอบทั้งหมดในสนามสอบ
  2. ค่า T ที่สูง เช่น 65 ขึ้นไป แสดงถึงความโดดเด่นและเพิ่มโอกาสสอบติดมากขึ้น

การคำนวณค่า T 

การหาค่า T จำเป็นต้องมีตัวเลข 3 ค่าหลัก ดังนี้:
  1. คะแนนที่ได้ (Score): คะแนนที่ได้
  2. ค่าเฉลี่ย (Mean): คะแนนเฉลี่ย
  3. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ SD): การกระจายตัวของคะแนน 

การคำนวณค่า T ทำได้ง่ายๆ ใน 3 ขั้นตอน:

  1. หาค่า Z
  2. หาค่า T ในแต่ละวิชา
  3. หาค่า T รวม

ยกตัวอย่างการคำนวณคะแนนค่า T ของแต่ละวิชา

โดยใช้ 3 ขั้นตอนด้านบน


หาค่า T รวมของทั้ง 4 วิชา 

จะเห็นว่าค่า T รวม ที่คำนวณได้ = 64.839 ตรงกับ คะแนนมาตราฐาน T เฉลี่ยที่ปรากฏในคะแนนสอบของน้องๆ


ตัวอย่างค่า T กับโอกาสสอบติด

ค่า T เปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าผู้อื่น
50 50%
60 84%
65 93%
70 98%

สรุป: การได้ค่า T สูง เช่น 65 ขึ้นไป จะเพิ่มโอกาสสอบติดในสนามสอบ

ค่า T หรือ T-Score เป็นคะแนนที่คำนวณจากผลสอบ โดยเราจะแปลงค่า T ที่ได้ เป็นค่า P  หรือ เปอร์เซนต์ ดูได้จากตารางคำนวณด้านบน

สมมตินาย A สอบได้ค่า T = 65 จะตรงกับ % ที่เหนือคนอื่น 93.32 
(ประมาณเป็น 93%)


คนสอบ 100 คน
นาย A คะแนนมากกว่า คนอื่น 93 คน แสดงว่า ” นายA สอบได้ที่ 7″

ถ้าคนสอบ 100 คน นาย A  สอบได้ที่ 7
ถ้าคนสอบ 1,000 คน นาย A  สอบได้ที่ 70
ถ้าคนสอบ 2,000 คน นาย A  สอบได้ที่ 140


หากต้องการทำ T รวมมากกว่าหรือเท่ากับ 65 มีวิธีการปรับคะแนนหลายแบบดังนี้


Option 1 : เพิ่มคะแนนวิชาที่น้อย

เน้นเพิ่มคะแนนวิชาที่ค่า T น้อยกว่า 65 ให้วิชานั้นมีค่า T = 65 ซึ่งจะทำให้ค่า T รวม = 65 โดยอัตโนมัติ เพราะทุกวิชาจะมีค่าเฉลี่ยที่ 65 เท่ากัน
วิชาที่ต้องปรับค่า T:

  • ภาษาไทย: ค่า T เดิม = 61.660 → ปรับขึ้นเป็น 65
  • วิทยาศาสตร์: ค่า T เดิม = 63.340 → ปรับขึ้นเป็น 65
  • ภาษาอังกฤษ: ค่า T เดิม = 63.801 → ปรับขึ้นเป็น 65

Option 2: เพิ่มคะแนนวิชาที่มาก

วิธีนี้เน้นเพิ่มคะแนนในวิชาที่มีค่า T สูง (คณิตศาสตร์) เพื่อชดเชยค่า T ของวิชาอื่นที่ต่ำกว่า 65 ทำให้วิชาที่ T ต่ำกว่า 65 ไม่จำเป็นต้องปรับคะแนนสูงมาก

  • เพิ่มค่า T ของวิชาคณิตศาสตร์ (T เดิม = 70.557) → T ใหม่ = 75
  • คงวิชาอื่นในระดับเดิม (ภาษาไทย, วิทยาศาสตร์, ภาษาอังกฤษ)

ทำให้ T รวมเกิน 65 ได้โดยที่ไม่ต้องเพิ่มทุกวิชาให้ถึง 65


Option 3: เพิ่มคะแนนทุกวิชาเล็กน้อย

เพิ่มคะแนนในทุกวิชาให้ค่า T ขยับขึ้นเท่าๆ กัน เพื่อให้ค่าเฉลี่ยรวม = 65 โดยไม่ต้องเน้นปรับเฉพาะบางวิชา  ตัวอย่าง:

  • เพิ่มคณิตศาสตร์จาก T = 70.557 → 71
  • เพิ่มภาษาไทยจาก T = 61.660 → 64
  • เพิ่มวิทยาศาสตร์จาก T = 63.340 → 65
  • เพิ่มภาษาอังกฤษจาก T = 63.801 → 65

ทำให้ T รวม = 65.25


สรุป

  1. หากต้องการเสริมจุดอ่อน เลือก Option 1 

  2. หากต้องการเพิ่มจุดแข็ง เลือก Option 2

  3. หากต้องการเสิรมทั้งจุดอ่อนและเพิ่มจุดแข็ง  เลือก Option 3

คำแนะนำ:
คุณพ่อคุณแม่อาจจะดูว่าน้องๆ ถนัดวิชาใด และวางแผนปรับคะแนนตามความเป็นไปได้ เพื่อเพิ่มโอกาสสอบติดในสนามสอบจริง! 😊


หากอยากได้ค่า T = 65  ในวิชาคณิตศาสตร์ต้องทำคะแนนได้ประมาณ 18 คะแนน (ปัดขึ้นจาก 17.543)

เพิ่มเติม ต่อให้เราได้ 18 คะแนน ในตอนสอบจริง ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะได้ T = 65 เพราะ ค่า T เกิดมาจาก คะแนนที่เราได้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี้ยงเบนมาตราฐาน

ถ้าจำนวนผู้เข้าสอบเปลี่ยนไป หรือข้อสอบยาก/ง่ายขึ้น ค่า T ก็จะไม่ได้เหมือนเดิมเพราะฉะนั้นในการสอบแต่ละครั้ง เพื่อให้ได้ T = 65 จะไม่ได้หมายความว่าต้องได้ 18 ข้อทุกครั้ง


ทุกๆ 1 คะแนนที่น้องๆ ทำได้ในแต่ละวิชา จะส่งผลต่อค่า T ที่เพิ่มขึ้นไม่เท่ากัน เช่น ในวิชาคณิตศาสตร์ ทุก 1 คะแนนจะเพิ่มค่า T ประมาณ 2.262 ในขณะที่ในวิชาภาษาไทย ทุก 1 คะแนนจะเพิ่มค่า T ประมาณ 1.543 แสดงให้เห็นว่าแต่ละวิชาค่า T ที่เพิ่มหรือลดจะแตกต่างกันไป

อย่างไรก็ตาม ค่า T ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละการสอบพรีเทสครั้งนี้ไม่สามารถนำมาอ้างอิงเป็นมาตรฐานเดียวกันได้เสมอไป เพราะปัจจัยสำคัญ เช่น จำนวนผู้เข้าสอบ คะแนนสอบ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความแตกต่างกันในแต่ละสนามสอบ

สุดท้ายแล้ว สิ่งสำคัญไม่ใช่แค่การเปรียบเทียบกับคนอื่น แต่คือการเตรียมตัวและพัฒนาตัวเองให้พร้อมในทุกสนามสอบ ฝึกฝนทำโจทย์ อ่านหนังสือวันละนิด ทุกๆวัน เก่งขึ้นกว่าเมื่อวาน แค่นี้ก็ช่วยให้น้องๆพร้อมที่จะก้าวไปลงสู่สนามสอบเข้าม.1โรงเรียนสาธิตได้อย่างมั่นใจ! 😊